ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล๊อกแห่งนวัตกรรมของฉัน

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรมของฉัน


ชุดการสอน

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔




นางสาววัลยา แซ่ล้อ
ป.บัณฑิต รุ่นที่ 12 ศูนย์รัตนราษฎร์บำรุง
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำนำ

ชุดการเรียนรู้ชุดนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (เศรษฐกิจพอเพียง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เป็นชุดการเรียนที่นักเรียนจะแสวงหาความรู้ได้ด้วยการศึกษาจากใบความรู้และฝึกปฏิบัติตามใบงานซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่ม และความรับผิดชอบของตนเองนักเรียนสามารถประเมินตนเองและร่วมกันประเมินเพื่อนๆ อีกทั้งยังประเมินด้านความรู้จากแบบทดสอบหลังการเรียนรู้และสามารถแสดงความรู้สึกต่อชุดการเรียนรู้นี้ จากแบบทดสอบตามความคิดเห็นหลังจากจบชุดการเรียนรู้


นางสาววัลยา แซ่ล้อ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ข้อ ๑ นักเรียนอธิบายหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อ

ข้อ ๒ นักเรียนอธิบายการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง
มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

คำชึ้แจงชุดการสอน

ขั้นตอนที่ ๑



นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนการเรียนรู้


ขั้นตอนที่ ๒


นักเรียนศึกษาจากใบความรู้ทีละเรื่อง
หากสงสัยควรซักถามครูผู้สอนให้เข้าใจ
ก่อนที่จะดำเนินการกิจกรรมต่อไป

ขั้นตอนที่ ๓


นักเรียนทำแบบฝึกหัดการคิดจากใบงานทุกใบ
เพื่อทดสอบความตั้งใจของตนเอง

ขั้นตอนที่ ๔


นักเรียนทดสอบความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติ
ของตนเองจากแบบทดสอบหลังการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

โรงเรียนวัดดอนกระเบื้อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนนักเรียน 28 คน
กลุ่มวิชา สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเวลาที่สอน 1 ชั่วโมง
วันที่สอน......พฤศจิกายน 2552 ชื่อผู้สอน นางสาววัลยา แซ่ล้อ ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แหล่งศูนย์รัตนราษฎร์
สาระสำคัญ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงชี้แนะและเห็นคุณค่าในการอยู่อย่างพอเพียงซึ่งสอดคล้องกับแบบอย่างการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง
2. นักเรียนอธิบายการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง
1. หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2. การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 จัดทำชั้นเรียนโดยแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม
1.2 เร้าความสนใจด้วยชุดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 ครูแจกและอธิบายชุดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้วกำหนดภาระงานในกิจกรรมที่ 1

กิจกรรมที่ 1
หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 ห่วง กับ 2 เงื่อนไง ประกอบด้วยอะไรบ้างและระบายสีให้สวยงาม
1.4 ปฏิบัติภาระงานโดยที่กำหนด โดยร่วมกันในกลุ่มย่อย
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำใบกำหนดงานมาตรวจสอบให้กำลังใจ
1.6 นำเสนอผลงานโดยนำใบงานไปติดไว้ที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนแล้วคัดเลือกใบกำหนดงานของกลุ่มที่สรุปได้ชัดเจนที่สุดและให้ตัวแทนของกลุ่มมาสรุปให้ฟังเพียง 1 กลุ่ม
1.7 ประเมินผล สรุป เพิ่มเติมเนื้อหา
2. การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
2.1 จัดทำชั้นเรียน โดยแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม
2.2 เร้าความสนใจด้วยชุดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
2.3 ครูแจกชุดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และอธิบายใบกำหนดงาน การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมที่ 2 และกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบายการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยทำลงใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2หลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 ปฏิบัติภาระงานที่กำหนดโดยร่วมกันในกลุ่ม
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำใบกำหนดงานต่างกลุ่มมาตรวจสอบและให้กำลังใจ และแก้ไขสำเนาการเขียน
2.6 นำเสนอผลงาน โดยนำใบงานไปติดไว้ที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนแล้วคัดเลือกใบกำหนดงานของกลุ่มที่สรุปได้ชัดเจนที่สุด
2.7 ประเมินผล สรุป เพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.ชุดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
2 ใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1
3.ใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2
4. ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน
การวัดผล และประเมินผล
วิธีวัดผล
1. วัดผลจากการอธิบายหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดผลจาการอธิบาย การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินจากการอธิบายหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนบางกลุ่มยังอธิบายไม่ถูกต้องแก้ไขด้วยให้ครูเพิ่มเติมในชั้นเรียน
2. ประเมินจาการอธิบายการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่านักเรียนบางกลุ่มยังอธิบายไม่ถูกต้องแก้ไขด้วยให้ครูอธิบายเพิ่มเติมในชั้นเรียน
บันทึกหลังการสอน
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

คู่มือครู

ชุดการสอนวิชาสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
3. ใบความรู้ที่ 2 การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องมี 3 หลักคือ
4. ใบมอบหมายงานที่ 1
5. แบบเฉลยใบมอบหมายงานที่ 1
6. ใบมอบหมายงานที่ 2
7. แบบเฉลยใบมอบหมายงานที่ 2
8. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
9. แบบเฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม ( ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม )
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการเรียนการสอน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องจัดเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนซึ่งแต่ละคนจะได้รับชุดการสอนคนละ 1 ชุด เว้นแต่สื่อการสอนที่ต้องใช้ร่วมกัน
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

6. ครูดำเนินการสอนตามแผนการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนทำใบกำหนดงาน ครูไม่ควรส่งเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดควรพูดเป็นรายบุคคล



7. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ถ้านักเรียนคนใดมีปัญหาครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
8. คุณครูควรพูดซ้ำให้นักเรียนเก็บชุดการสอน
9. การสรุปบทเรียนควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมด้วย

สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. เตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้พร้อม
ภาพเศรษฐกิจพอเพียง
2. เตรียมชุดการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
3. เตรียมแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรือง เศรษฐกิจพอเพียง


บทบาทครู
1. ครูต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ให้เพียงพอ
2. ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการเรียนรู้ที่ได้เตรียมไว้
3. ครูต้องสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. ครูต้องประเมินผลและให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากการทำใบมอบหมายงานที่ 1 และ ใบมอบหมายงานที่ 2
3. สังเกตจากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง: ๑แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้ มีข้อทดสอบจำนวน ๕ ข้อ คะแนนเต็ม คะแนน ใช้เวลา ๕ นาที
๒.นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วทำเครื่องหมาย X ในกระดาษคำตอบ
1. การปฏิบัติตนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงควรเริ่มจากที่ใด
ก. ตนเอง ข.ครอบครัว
ค. ชุมชน ง. จังหวัด
2. ข้อใดสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
ก.ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
ข. ไม่พึ่งพาผู้อื่นเลย
ค. ไม่กู้หนี้ยืมสินใคร
ง. ไม่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต
3. ข้อใดไม่ใช่วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง
ก. พึ่งพาตนเองและอยู่แบบพอมีพอกิน
ข. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเกษตรกร
ค. ส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตร
ง. ร่วมกลุ่มกันต่อต้านรัฐบาล
4. ใครปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ก. อมรรัตน์ซ่อมแซมกระโปรงที่ขาด
ข. ทินกรรับประทานอาหารเหลือทุกครั้ง
ค. จตุพรซื้อรองเท้าครั้งละ 5 คู่
ง. กมลใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่น
5. ใครไม่ปฏิบัติตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ก. วาสกุลใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย
ข. ประทิพย์มีเหตุผลในการลงทุน
ค. สมทรงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
ง. รุ่งนภาทำงานอย่างมีหลักการ

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

ข้อ ๑ ก
ข้อ ๒ ก
ข้อ ๓ ง
ข้อ ๔ ก
ข้อ ๕ ค

แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง: ๑แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้ มีข้อทดสอบจำนวน ๕ ข้อ คะแนนเต็ม ๕ คะแนน ใช้เวลา ๕ นาที
๒.นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วทำเครื่องหมาย X ในกระดาษคำตอบ
1.ใครไม่ปฏิบัติตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ก. วาสกุลใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย
ข. ประทิพย์มีเหตุผลในการลงทุน
ค. สมทรงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
ง. รุ่งนภาทำงานอย่างมีหลักการ
2. ข้อใดไม่ใช่วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง
ก. พึ่งพาตนเองและอยู่แบบพอมีพอกิน
ข. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเกษตรกร
ค. ส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตร
ง. ร่วมกลุ่มกันต่อต้านรัฐบาล
3. ใครปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ก. อมรรัตน์ซ่อมแซมกระโปรงที่ขาด
ข. ทินกรรับประทานอาหารเหลือทุกครั้ง
ค. จตุพรซื้อรองเท้าครั้งละ 5 คู่
ง. กมลใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่น
4. การปฏิบัติตนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงควรเริ่มจากที่ใด
ก. ตนเอง ข.ครอบครัว
ค. ชุมชน ง. จังหวัด
5. ข้อใดสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
ก.ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
ข. ไม่พึ่งพาผู้อื่นเลย
ค. ไม่กู้หนี้ยืมสินใคร
ง. ไม่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

ข้อ ๑ ค
ข้อ ๒ ง
ข้อ ๓ ก
ข้อ ๔ ก
ข้อ ๕ ก

คู่มือนักเรียน

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
2. ใบความรู้ที่ 1 และ 2
3. ใบมอบหมายงานที่ 1 และ 2

บทบาทนักเรียน
1. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างรอบคอบ
2. พยายามทำใบมอบหมายงานที่1 และ 2 และแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียนและร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มความสามารถ
3. นักเรียนตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจัง และไม่ชวนเพื่อนคุยออกนอกเรื่อง
4. เก็บชุดการสอนให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
5. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ครูกำหนดอย่างเคร่งครัด

สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม
อุปกรณ์การเรียน

บทบาทนักเรียน
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. นักเรียนให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอน
3. นักเรียนพยายามแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. นักเรียนมีความรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การประเมินผล
1. ประเมินจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากการทำใบงานที่1 และ 2
3. สังเกตจากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ใบความรู้ที่ 1

เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ โดยยึดเอาหลักธรรมต่างๆ มาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิต
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณความ
เหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจในการกระทำกิจกรรมต่างๆ
หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง กับ 2 เงื่อนไข

ใบความรู้ที่ 2

ในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องมี 3 หลักคือ
1. มีความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไป
2. มีเหตุผล หมายถึง จะทำสิ่งใดต้องตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง จะทำสิ่งใดต้องทำแบบมีหลักการทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อได้ไม่เกิดปัญหาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับประชาชนในทุกระดับ ไม่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้น ซึ่งทุกคนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักเศรษฐกิจพอเพียง
1.มีความอดทนในการดำเนินชีวิตและมีความขยันหมั่นเพียร
2.มีน้ำใจต่อกัน รู้จักแบ่งปันและให้ความร่วมมือในการทำงาน
3. มีวินัยในตนเอง ประหยัด อดออม ละเลิก ในสิ่งที่ไม่จำเป็น
4. สร้างครอบครัวที่อบอุ่น รู้จักวางแผนครอบครัว และสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว
5.ความเข้าใจผู้อื่นที่แตกต่างจากตน และพร้อมจะยอมรับ
6. ภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทยเช่น เลิกยึดติดกับยี่ห้อ ให้การสนับสนุน และเห็นคุณค่าของสินค้าไทย

บรรณานุกรม

ชัยฤทธิ์ ศิลาเดชและจตุพร ศิลาเดช.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๔ กรุงเทพฯ:แม็ค ๒๕๕๐
วลัย พานิช.แบบฝึกกิจกรรมเพื่อพัมนาทักษะการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พิมพ์ครั้งที่๑ กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช
,๒๕๔๙